เปลี่ยนการ
แสดงผล
ปรับขนาด
ตัวอักษร
 
 
อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตําบลกะรน
เทศบาลตําบลกะรน ตั้งอยู่เลขที่1 ถนนกะตะ ตําบลกะรน อําเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ห่าง จากตัวเมืองภูเก็ต ประมาณ 14 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 14,556 ไร่ ประกอบด้วยชุมชน 4 หมู่บ้าน 4 ชุมชน คือ หมู่ที่ 1 กะรน หมู่ที่ 2 โคกโตนด-กะตะ หมู่ที่ 3 บางลา หมู่ที่ 4 คอกช้าง

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อ เทศบาลเมืองป่าตอง อําเภอกะทู้
ทิศใต้ ติดต่อ เทศบาลตําบลราไวย์ อําเภอเมืองภูเก็ต
ทิศตะวันออก ติดต่อ เทศบาลตําบลฉลอง อําเภอเมืองภูเก็ต
ทิศตะวันตก ติดต่อ ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ทางทิศใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา และที่ราบสูงเชิงเขา พื้นที่ทางด้านทิศตะวันออก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบเชิงเขา ใช้เป็นที่ตั้งชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรม ลักษณะภูมิอากาศ มีลักษณะภูมิอากาศแบบเขตศูนย์สูตร อยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลม มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี มี 2 ฤดูคือ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนพฤศจิกายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงสุด 33 องศาเซลเซียส ต่ําสุด 24 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน เริ่ม ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยสูงสุด 36 องศาเซลเซียส ต่ําสุด 26 องศา เซลเซียส

เทศบาลตำบลกะรน เดิมเป็น สุขาภิบาลตำบลกะรน จัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 104 ตอนที่ 110 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2530 โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 เมษายน 2530 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะจาก "สุขาภิบาลกะรน" เป็น "เทศบาลตำบลกะรน" ตามพระราชบัญญัติ เปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก. ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 สถานที่ตั้งและลักษณะที่ตั้ง : สำนักงานเทศบาลตำบลกะรนตั้งอยู่เลขที่ 1ถนนกะตะ ตำบลกะรน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต ประมาณ 19กิโลเมตร
วิสัยทัศน์
“พัฒนาเมืองกะรนให้น่าอยู่ ทันสมัย ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน”
พันธกิจ
1. พัฒนาปรับปรุงรักษาทางบก ทางน้ำและสาธารณูปการ
2. ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน
3. ส่งเสริมการศึกษาและนันทนาการ
4. กำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
5. สนับสนุนประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
6. ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
7. พัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการเมืองการบริหาร
8. ให้การป้องกันดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชน
9. ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม